The Energy
  แนะนำพลังงานตรีเอกานุภาพ เริ่มงานวิจัยพลังงานตรีเอกานุภาพ รูปแบบระบบการทำงาน System โรงไฟฟ้าพลังงานความร้อน ORC  

 

โครงการวิจัย พลังงานไฮโดร เพาเวอร์ สิ่งประดิษฐ์ทางเทคโนโลยี จุดเริ่มต้นของโครงการพลังงานทดแทน ในปี 2546

    จุดเริ่มต้นของ โครงการพลังงาตรีเอกานุภาพปี 2546

     พลังงาน ปี พ.ศ.2546 เป็นจุดเริ่มต้นของ โครงการพลังงานทดแทนทั้งหมดจนถึง ณ ปัจจุบัน
       จากโครงการวิจัย และพัฒนากังหันลม ในปี 2545 เทคโนโลยีที่ได้ทำการวิจัยกังหันลม ถูกพัฒนาโดยได้นำระบบ Hydropneumatic เข้ามาเกี่ยวข้องกับระบบการทำงาน ของกังหันลม จนกระทั่งแนวความคิดของกังหันลม ได้ถูกพักเอาไว้ จากการท ี่Akesirikul ได้เห็นว่า กระแสลมในประเทศไทย ไม่เหมาะสมที่จะพึ่งพาพลังงานลม โครงการกังหันลมจึงได้ถูก พักเอาไว้ก่อน แต่อย่างไรก็ตาม โครงการกังหันลมแบบใหม่นี้ ก็ได้เสร็จสมบูรณ์ และสามารถนำไปเพื่อใช้ให้เป็นประโยชน์ต่อไปได้

       ที่มาของ เทคโนโลยีพลังงานตรีเอกานุภาพ ที่ได้ถูกนำเข้ามาเกี่ยวข้อง คือ ระบบ Hydropneumatic จากโครงการพัฒนากังหันลม และ เทคโนโลยีนี้ ก็สามารถที่จะพัฒนาต่อ เพื่อที่จะให้เกิดสิ่งประดิษฐ์ใหม่ทางเทคโนโลยีได้เช่นกัน ระบบ Hydropneumatic ที่นำมาใช้ทดสอบ มีองค์ประกอบ คือ

       การนำเอาแรงดันอากาศ โดยใช้ Compressor ในการอัดอากาศ ซึ่งทำการอัดอากาศไว้เพียงครั้งเดียว และเก็บสะสมไว้ในถังแรงดัน จำนวน 2 ถัง จากนั้น Compressor จะไม่ถูกใช้งานอีกต่อไป เพราะได้ทำการอัดอากาศเสร็จสิ้นแล้ว และแนวทางคือ จะต้องเอาแรงดันอากาศที่ได้ถูกใช้ไปแล้ว สามารถนำกลับมาใช้ใหม่ได้อีก อย่างต่อเนื่อง ซึ่งก็จะต้องมีระบบในการนำกลับ Transfer pressor  และ แรงดันอากาศที่หมุนเวียนได้ในระบบนี้ จึงถูกนำไปดันน้ำในถังแรงดัน และจะทำให้น้ำมีพลังงานศักดิ์สูง เปรียบเสมือน เขื่อนพลังงานน้ำที่มีระดับการเก็บน้ำที่สูงมาก จากนั้นแรงดันน้ำที่ได้ จะนำไปหมุนมอเตอร์ ไฮดรอลิก ชนิดพิเศษที่ออกแบบมาเพื่อใช้กับแรงดันน้ำโดยเฉพาะ

       แต่สำหรับการทดลองระบบในแบบทดสอบแรก เพื่อดูว่าทำงานได้หรือไม่ และการทำงานเป็นอย่างไร เราจึงเลือกหาวัสดุที่หาได้โดยง่ายและมีราถูก โดยยังไม่ต้องเสียเวลาในการประดิษฐ์ขึ้นมาเอง เราจึงเลื่อกที่จะใช้มอเตอร์ ไฮดรอลิก ซึ่งก็ต้องใช้น้ำมันไฮดอรลิก แทนน้ำ ซึ่งน้ำมันไฮดรอลิกนั้นก็สามารถทำงานได้ดี เฉพาะ กับมอเตอร์ไฮดรอลิกโดยทั่วๆไป ซึ่งก็หาซื้อได้ง่ายจากของเก่าแถวถนนบรรทัดทอง และมีราคาถูก สามารถนำมาทดสอบระบบการทำงานได้  โดยที่ไม่ต้องเสียเงินซื้ออุปกรณ์ใหม่ ที่มีราคาแพง แต่ไม่รู้ว่าจะสำเร็จได้หรือไม่

       ผลในการทดสอบ เมื่อนำแรงดันอากาศ ที่ปล่อยออกมาจากถังสะสมพลังงาน เข้าไปในถังที่มีน้ำมัน ไฮดรอลิกอยู่จำนวน 30 ลิตร แรงดันอากาศได้ดันน้ำมัน ไฮดอรลิก ไปหมุนมอเตอร์ไฮดอรลิก ทำให้เกิดพลังงาน เพื่อการผลิตกระแสไฟฟ้าได้เป็นอย่างดี
ระบบไฮดอรลิก มีแรงดันและพลังงานการหมุนที่สูง แต่รอบจะไม่สูงนัก มอเตอร์ไฮดอรลิกที่สามารถหมุนได้สูงที่สุด จะสามารถหมุนได้เพียง 4000 รอบต่อนาที ก็นับว่าสูงที่สุดแล้ว ระบบที่ทดสอบ สามารถหมุนได้ความเร็ว 3000 รอบต่อนาที

 

ทดสอบแรงดันระบบไฮดรอนิวแมติก
มอเตอรไฮดรอลิก 3000 รอบ หมุนเจนนาเรเตอร์


         ผลในการทดสอบได้เห็นว่า ระบบสามารถผลิตพลังงานไฟฟ้าได้ด้วย ระบบ Hrdropneumatic ซึ่งก็สามารถให้พลังงานที่สูงกว่าระบบแรงดันอากาศ Pneumatic ธรรมดา จึงได้พยายามคิดหาแนวทางในการประดิษฐ์ ที่จะสามารถทำให้เกิดการ ถ่ายแทพลังงานแรงดันอากาศ และน้ำมัน ไฮดอรลิก ที่ได้ใช้ไปแล้ว ให้สามารถนำย้อนกลับเข้ามาในระบบ เพื่อการนำกลับไปใช้ใหม่ได้อย่างต่อเนื่อง จึงได้ทำการเพิ่มถังแรงดัน เป็น 3 ถัง และทั้ง 3 ถัง จะมีขนาดที่เท่ากัน เพื่อการแลกเปลี่ยน สภานภาพของสสาร และสลับการทำงาน กันทั้ง 3 ถัง ระหว่าง แรงดันอากาศ และน้ำมัน ไฮดอรลิก ให้สามารถนำย้อนกลับมาใช้ใหม่ได้อย่างต่อเนื่อง โดยการส่งถ่ายไปที่ถังว่างเปล่า ซึ่งเป็นถังที่ 3 ที่ได้เพิ่มขึ้นมา



ระบบแรงดันไฮดรอลิก 3 ถัง
พลังงานตรีเอกานุภาพ
   
         

         ในการค้นคว้าเกี่ยวกับระบบ แรงดันน้ำมัน หรือระบบ Hrdropneumatic ที่ได้ทำการพัฒนามานี้ ต่อมาก็ได้พบว่า มีแรงเสียดทานที่ค่อนข้า่งสูง จากน้ำมันไฮดอรลิก ซึ่งมีความหนืดในการไหลในระบบ ทำให้ระบบมีประสิทธิภาพ ที่ขาดหายไปเป็นจำนวนมาก ต่อมาจึงได้ศึกษาหาความรู้เพิ่มเติมในเรื่องที่เกี่ยวข้อง และได้พบว่า ระบบของแรงดันน้ำ มีประสิทธิภาพที่สูงกว่า เนื่องจากน้ำมีความเสียดทานที่น้อยกว่า และมีความหนืดน้อยกว่าน้ำมัน และอัตราการไหลของน้ำก็สามารถทำได้สูงกว่าน้ำมัน
          ความรู้ที่ได้ศึกษาเพิ่มเติมมาก็คือ เรื่องแรงดันน้ำจากเขื่อนพลังงานน้ำ ซึ่งใช้กังหันน้ำ Peltun เป็นตัวสร้างพลังงานกล
แต่เนื่องจากกังหันน้ำ Pelton มีราคาที่แพงมาก สอบถามไปยังต่างประเทศ
มีขนาดเท่ากับจานรองถ้วยกาแฟ ติดตั้งมาพร้อมเจนนาเรเตอร์ ราคาอยู่ที่ 120,000 บาท จึงเป็นปัญหาในการทดลอง
          ในขณะที่รอการตัดสินใจเรื่องกังหัน Pelton อยู่นั้น Akesirikul ได้ลงมือสร้างกังหันน้ำด้วยตัวเอง แต่เป็นกังหันระบบ Vane

โดยปรกติมอเตอร์แบบ Vane จะมีทั้ง แบบ Pneumatic และแบบ Hydrolic
แต่ที่ Akesirikul ได้ทำการสร้างขึ้นด้วยตัวเอง โดยการกลึงโลหะด้วยมือ กับแท่นสว่านไฟฟ้าธรรมดา ไม่ได้ใช้เครื่องกลึง
แต่ต้องเป็นแบบที่ทำงานได้ด้วยน้ำเปล่า จึงต้องใช้โลหะทองเหลืองซึ่งมีความลื่นสูงในการสร้าง

มอเตอร์ vane ทำงานด้วยน้ำ

ผลในการทดสอบ ก็สามารถทำงานได้เช่นเดียวกับมอเตอร์ Hydrolic

ทดสอบ มอเตอร์น้ำแบบ Vane สร้างเอง

จากการศึกษาการทำงานของ มอเตอร์น้ำระบบ Vane และจากการทดสอบระบบการทำงาน พบว่ายังมีแรงต้านทานภายในระบบที่สูง ไม่เป็นที่น่าพอใจนัก อีกทั้งการสร้างซึ่งทำได้ยาก และไม่มีขายในท้องตลาด
จึงได้ตัดสินใจที่จะลองสั่งกังหันน้ำแบบ Pelton Turbine จากต่างประเทศเข้ามาทำการทดลอง

จากการศึกษารายละเอียดของ กังหันน้ำแบบ Pelton และพบว่ามีประสิทธิภาพสูงถึง 87 % และมีขายในท้องตลาดในต่างประเทศ
และสามารถที่จะสังซื้อได้ จึงตัดสินใจสั่งซื้อ Pelton Turbine เข้ามาเพื่อการพัฒนาระบบต่อไป

รูปภาพกังหันน้ำแบบ Pelton Turbine ที่ได้นำเข้าจากประเทศ สหรัฐอเมริกา

 

เจนนาเรเตอร์ Pelton turbine
Pelton Turbine

หลังจากที่ได้รับการส่งมอบ Pelton Turbine เรียบร้อยแล้ว Akesirikul จึงได้วางแผนในการออกแบบระบบ ถังแรงดันทั้ง 3 ถังใหม่ เพื่อให้สอดคล้องกับการทำงานของ Pelton Turbine ที่มีประสิทธิภาพสูง ซึ่งสามารถผลิตกระแสไฟฟ้าได้สูงสุดถึง 4000 W
และมีอัตราการไหลของน้ำที่ใช้ในระบบสูง และมีปริมาณน้ำทีใช้เป็นจำนวนมาก

Akesirikul จึงมีแนวความคิดที่จะทำการพัฒนารูปแบบของพลังงานจากกังหันน้ำ Pelton Turbine ในอนาคต

 

ภาพของ กังหันน้ำ Pelton Turbine ที่จะนำมาทำโครงการในอนาคต
โครงการเขื่อนเทียม ระบบพลังงาน Pneumatic Hydro power จากถังแรงดัน 3ถัง

 

ผลงานประดิษฐ์ระบบพลังงาน ในภาคต่อไปคือ พลังงาน Hydro power Plant ปี 2547

 

สงวนลิขสิทธิ์ การออกแบบหน้าเว็บเพจเว็บไซต์สไตล์หน้าแรก index โดยAKE เอกสิริกุล ผู้ออกแบบ และเจ้าของลิขสิทธิ์ ห้ามคัดลอกเรียนแบบ ห้ามดัดแปลงใดๆในรูปแบบของหน้า Index