The Energy

  พลังงานความร้อนต่ำ พลังงานอุณหภูมิ Thermal Energy - Organic Rankine Cycle- Solar Thermal Power Plant

กลับไปหน้าแรก :

ไปเพจ รวมพลคนหยุดโลกร้อน ปฎิบัติการณ์อันยิ่งใหญ่ของประเทศไทย
ภาระกิจสำคัญ สร้างเครื่องจักรกลเฉพาะกิจ เพื่อ การลดโลกร้อน หยุดโลกเดือด

โครงการลดโลกร้อนด้วย เครื่องจักรกลพลังงานความร้อนร่วม ระบบไฮบริด ORC เครื่องจักรมหัศจรรย์ที่หยุดโลกร้อนได้
เป็นเครื่องจักรกลประเภท ORC - Organic Rankine Cycle เครื่องจักร ORC สายพันธุ์ไทยแท้ พลังงานอุณหภูมิ
ดูดซับความร้อนจากชั้นบรรยาศ อุณหภูมิรอบๆตัวเรา เข้ามาเปลียนเป็นพลังงาน
เรามีแผนการสร้าง โรงไฟฟ้า พลังงานความร้อน โรงไฟฟ้าพลังงานแสงอาทิตย์
พลังงานทดแทนใหม่ปี 2024 แผนการก่อสร้างโรงไฟฟ้าแห่งชาติ เพื่อคนไทยได้ใช้ไฟฟ้าราคาถูก และหยุดภัยพิบัติ
คืนโลกใบเก่าให้กับเรา คืนการดำรงอยู่ของชีวิตมนุษยชาติ ที่มีความสุขกับโลกที่สวยงามใบนี้
คืนอากาศบริสุทธิ์ คืนอากาศเย็นให้ชั้นบรรยากาศ ปราศจากสภาวะเรือนกระจกด้วย

เครื่องจักรกล ORC Organic Rankine Cycle สายพันธุ์ไทย เครื่องจักรมหัศจรรย์
เป็นเทคโนโลยีประเภท Thermal Energy และเป็นเครื่องจักรที่ดูดซับความร้อนได้อย่างมีประสิทธิภาพ

เครื่องจักรนี้จะนำเข้า Input พลังงานความร้อนจ าก อุณหภูมิโลก เหนือพื้นดิน และชั้นบรรยากาศ
โดยดูดความร้อนจากอุณหภูมิ 30-50 องศาเข้ามาภายในเครื่อง เพื่อเปลี่ยนเป็นพลังงานไฟฟ้า
และปลดปล่อยความเย็น อุณหภูมิต่ำ ประมาณ 25 องศา กลับคืนสู่ผืนแผ่นดินที่เครื่องจักรตั้งอยู่

เครื่องจักรกลลดโลกร้อน เครื่องจักรกลหยุดโลกเดือด Thailand That ORC -เครื่องจักรกล ORC - Organic Rankine Cycle พัฒนาโดย อาจารย์เอกสิริ ธีรกุล นักวิจัยอิสระ บริษัท เอเคอี อินโนเวชั่น จำกัด


เครื่องจักรกล ORC สายพันธุ์ไทยสามารถพัฒนาให้ทำงานได้ที่ อุณหภูมิ ตั้งแต่ 40-50 องศาC จากอากาศอุณหภูมิเหนือพื้นดิน
และสามารถบูสเพิ่มพลังงานความร้อนจากแสงอาทิตย์ได้จนถึง 200 องศาเซลเซียส เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพให้กับระบบ
โดยพลังงานความร้อนจากแสงอาทิตย์นี้ จะถูกนำมาใช้ เป็นพลังงานทดแทนที่สะอ า ด
และ เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมแทนเชื้อเพลิงอื่นๆ ที่ทำให้เกิดสภาวะเรือนกระจก

ข้อดีของเครื่องจักร จะปลดปล่อยความเย็นออกมากลับคืนสู่ผืนแผ่นดินโลก
ความเย็นนี้จะถูกปล่อยออกมาเป็นจำนวนมาก สามารถหยุดสภาวะโลกเดือด
เป็นเครื่องจักรกล เทคโนโลยีขององค์กร homeenergy คิดค้น พัฒนาเพื่อ ลดโลกร้อนให้ได้อย่างมีประสิทธิภาพ

ออกแบบคิดค้นวิจัย และพัฒนาโดย องค์กร Homeenergy นำทีมโดย อาจารย์เอกสิริ ธีรกุล
กรรมการผู้จัดการ บริษัท เอเคอี อินโนเวชั่น จำกัด

จากเมื่อกว่า 20 ปีที่ผ่านมา จนถึงปี 2024นี้ ผมได้พัฒนา และปฏิรูประบบพลังงานแสงอาทิตย์ ที่ใช้โซล่าเซลล์และพลังงานทดแทนอื่นๆ
เพื่อให้ได้ระบบการใช้เครื่องจักรกลพลังงานทดแทนด้วยเทคโนโลยีต่างๆ เพื่อให้ได้มาซึ่งพลังงานสะอาดอย่างมีประสิทธิภาพที่ยั่งยืน
และได้คิดค้น ระบบการชาร์จพลังงานในรูปแบบของระบบ พลังงาน GMP ( Get Maximum Power )
เป็นระบบที่ก้าวข้ามปัญหาการจัดเก็บพลังงานแสงอาทิตย์ในระบบโดยรวมของโซล่าเซลล์ และโซล่าฟาร์ม
เพื่อให้สามารถจัดเก็บพลังงานได้อย่างมีประสิทธิภาพสูงสุด
ปัจจุบันได้พัฒนาผลิตภัณฑ์เพื่อนำออกสู่ตลาดเชิงพาณิชย์
ติดตามรายละเอียดได้ที่ เพจ homeenergy
ติดต่อผมอาจารย์เอกสิริ แอ๊ดไลน์ homeenergy เพื่อเข้าร่วมทีม หรือสนับสนุนโครงการเพื่อต่อยอดไปสู่
การพัฒนาผลิตภัณฑ์เครื่องจักรกล พลังงานอุณหภูมิ ORC สายพันธุ์ไทยหยุดโลกร้อน
แอ๊ดไลน์ homeenergy เพื่อนำไปสู่ทีมพัฒนาเทคโนโลยีแห่งชาติ
เริ่มต้นที่ไลน์กลุ่ม รวมพลคนหยุดโลกร้อน คลิ๊กดูรายละเอียดการเข้าร่วม


ประวัติเอกสิริ

หลักการทำงานของเครื่องจักร ORC เครื่องจักรหยุดโลกร้อนสายพันธุ์ไทยโดยละเอียด

เครื่องจักรกลพลังงานอุณหภูมิ พลังงานความร้อนต่ำ มีการดูดซับพลังงานความร้อนจากอุณหภูมิเหนือพื้นโลกในชั้นบรรยากาศที่ร้อน ซึ่งในยุคปัจจุบัน ไม่ต่ำกว่า 37-50 องศา C
โดยเครื่องจักร์จะดูดความร้อนนี้ เข้ามาใช้เป็นพลังงานให้กับเครื่องจักรกล ORC เครื่องจักร์ Organic Rankine Cycle สายพันธุ์ไทย

ขั้นตอนที่ 1
พลังงานความร้อนจากอุณหภูมิในชั้นบรรยากาศ ( ความร้อนบนพื้นผิวโลก ตามอุณหภูมิท้องถิ่น ) ในประเทศไทย 37-50องศาC

ขั้นตอนที่ 2
โดยใช้เรือนกระจก สะสมพลังงานความร้อนให้ได้อุณหภูมิ 60 -70 องศาเซลเซียส ความร้อนส่วนนี้ เป็นอากาศร้อน
อากาศร้อนภายในเรือนกระจก ถูกนำมากใช้ในการ อุ่นความร้อนให้กับระบบ ORC เป็นขั้นตอนที่ 2

ขั้นตอนที่ 3
ใช้หลอดแก้วสุญญากาศ Solar Collector เพิ่มความร้อนให้สูง ตั้งแต่ 97-150 องศาเซลเซียส
โดยมีน้ำเป็นตัวนำความร้อน น้ำร้อนนี้ จะถูกส่งไปใช้เป็นพลังงานให้กับเครื่องจักรกล ORC ตลอด 24 ชั่วโมง

ภายในระบบของเครื่องจักร ORC ประกอบด้วย อุปกรณ์ Heat Enchanger เป็นหลัก ซึ่งจะมีสารเคมี ประเภท Refrigerant ในการดูดซับความร้อน

พลังงานความร้อน จะถูกเปลี่ยนเป็นแรงดัน หมุน Turbine และหมุนเครื่องกำเนิดพลังงานไฟฟ้า
สารเคมีประเภท Refrigerant เป็นสารที่มีคุณสมบัติในการทำความเย็น โดยสาร Refrigerant จะทำการดูดซับเอาความร้อนเข้ามา
ทำปฎิกิริยา จึงทำให้สถานะของ สาร Refrigerante เปลี่ยนสถานะจาก ของเหลว กลายเป็นไอก๊าซและมีแรงดันที่สูงมากได้โดยง่าย
และสามารถทำให้เกิดแรงดันใช้งานได้ถึง 90-150 Psi ปอนด์ต่อตารางนิ้วได้ ที่อุณหภูมิไม่ถึง 97 องศาเซลเซียส

      สาร Refrigerant ที่อุณหภูมิต่ำมากๆ ต่ำกว่าจุดเดือดของสารเคมีนั้น จะมีสถานะเป็นของเหลว 100% และ มีแรงดันเพียงเล็กน้อยเท่านั้น
สารเคมี Refrigerant บางชนิด อาจมีจุดเดือดที่ต่ำมาก ที่อุณหภูมิลบ 70 องศา จนถึง 27 องศาเซลเซียส
ดังนั้น เมื่อได้รับความร้อนเพียงเล็กน้อย แค่เพียงอุณหภูมิสูงเกินกว่าจุดเดือดของสารเคมี ก็จะทำให้สารเคมีเริ่มเดือด และกลายเป็นไอได้แล้ว
ยิ่งสารเคมีได้ร้บความร้อนสูงมากขึ้น ก็จะเดือดอย่างรวดเร็วและรุนแรง ทำให้เปลี่ยนสถานะเป็นไอก๊าซ 100% และมีแรงดันที่สูงมาก

      การทำงานของเครื่องจักรกลพลังงานอุณหภูมิ อาศัยจุดเดือดที่ต่ำมากของ สารเคมี Refrigerant มาใช้เป็นประโยชน์ โดย
เพื่มอุณหภูมิความร้อนให้กับสารเคมี Refrigerant เพียงเล็กน้อย ที่อุณหภูมิไม่เกิน 97องศาเซลเซียส
สิ่งที่เกิดขึ้นภายในระบบถังแรงดันปฏิกิริยาของเครื่องจักรกลพลังงานอุณหภูมิ คือ
สารเคมีที่มีสภาวะเป็นของเหลว เมื่อได้รับอุณหภูมิเพียง 97องศา ก็เดือดอย่างรุนแรง และกลายสภาพเป็นไอก๊าซที่มีแรงดันสูง
แรงดันที่ได้นี้ ถูกเก็บสะสมไว้ภายในถังแรงดันขนาดใหญ่ และปล่อยออกมาใช้งานในการสร้าง พลังงานกล
     
      ความร้อนที่นำเข้ามาในระบบมีจำนวนถึง 3 ทางด้วยกันคือ

1     พลังงานอุณหภูมิจากชั้นบรรยากาศ บ นพื้นผิวโลก จากอุณหภูมิตามท้องถิ่น
ในทุกๆ สถานที่บนโลก โดยเฉพาะในเขตเมืองร้อน ซึ่งมีอุณหภูมิอยู่ระหว่าง 27 องศาจนถึง 40 องศาเซลเซียส อุณหภูมิความร้อนเหล่านี้ เกิดจากการสะสมของพลังงานที่มาจากแสงแดด และพลังงานอื่นๆ เช่นความร้อนจากการใช้พลังงานในรูปแบบต่างๆ เช่น น้ำมัน ก๊าซ และ ถ่านหิน ฯลฯ
ความร้อนเหล่านี้ปะปนอยู่ในชั้นบรรยกาศบนพื้นผิวโลกเป็นจำนวนมาก 
และความร้อนบนพื้นผิวโลก ยังเกิดขึ้นได้จากสภาวะเรือนกระจก อีกทางหนึ่งที่ทำให้โลกร้อนขึ้นในแต่ละปี

2    ความร้อนจากพลังงานแสงอาทิตย์
การนำเอาพลังงานจากแสงอาทิตย์เข้ามาใช้งาน โดยการสร้างเรือนกระจกขนาดใหญ่ มีลักษณะเป็นหอคอยสูง  
เมื่อแสงแดดส่องเข้ามาภายในก็จะมีการเพิ่มขึ้นของอุณหภูมิความร้อน ประมาณ 60-70 องศาเซลเซียส
หากมีอุปกรณ์เสริมในการรับพลังงานจากแสงแดด ซึ่งเป็นโลหะที่สามารถรับนำความร้อนและนำความร้อนได้ดี 
ความร้อนเหล่านี้จะถูกเครื่องจักรกลพลังงานอุณหภูมิ นำผ่านเข้ามาภายในระบบ โดยใช้พัดลมดูดอากาศระบายผ่าน ระบบ Heat Exchange เพื่อส่งถ่ายความร้อนให้กับสาร เคมี จึงทำให้สารเคมีเดือดอย่างรุนแรง  ทีอุณหภูมิสูงกว่าจุดเดือดของสารเคมีเป็นจำนวนมาก

3     ความร้อนจากหลอดแก้ว Vacuum Tube Solar Collector
เป็นเทคโนโลยีในการทำน้ำร้อน พลังงานแสงอาทิตย์สมัยใหม่ ที่ดีที่สุดในการทำน้ำร้อนให้มีอุณหภูมิสูงถึง 100 องศาเซลเซียส
ความร้อนนี้ ถูกถ่ายเทเอาไว้ที่น้ำ น้ำจะร้อนที่อุณหภูมิประมาณ 90-100 องศาเซลเซียส ภายในหลอดแก้ว และจะถูกส่งไปยังอุปกรณ์ Heat Exchanger
เพื่อแลกเปลี่ยนความร้อนให้กับสารเคมี เพื่อนำไปผลิตกระแสไฟฟ้าต่อไป

        ถ้าเปรียบเทียบกับเครื่องจักรกล กังหันไอน้ำ Stream Turbine โดยทั่วๆไป ซึ่งใช้น้ำมันเชื้อเพลิง หรือ ก๊าซธรรมชาติ ทำให้เกิดความร้อนไปต้มน้ำให้เดือดและกลายเป็นไอก๊าซที่มีแรงดันสูง  ( น้ำเดือดที่อุณหภูมิ 100 องศาเซลเซียส )
        ส่วนเครื่องจักรกลพลังงานอุณหภูมิ ทำให้สารเคมี ซึ่งเป็นของเหลวเหมือนกับน้ำ แต่สามารถทำให้ เดือดได้ที่อุณหภูมิ 27   องศาเซลเซียสขึ้นไป จนถึงอุณหภูมิ 100-150 องศาเซลเซียส แต่สามารถทำให้เกิดการกลายเป็นไอของสารเคมีในรูปของเหลวได้อย่างรวดเร็ว และมีแรงดันสูง ในการนำไปใช้งาน
จะเห็น ความแตกต่างของอุณหภูมิ ที่ทำให้ของเหลวเดือดกลายเป็นไอ ว่ามีอุณหภูมิที่แตกต่างกว่ากันมาก

        พลังงานจากแรงดันก๊าซที่ไดจะถูกนำไปขับเคลื่อนระบบมอเตอร์แรงดัน ซึ่งจะทำให้เกิดพลังงานในการหมุนเครื่องกำเนิดพลังงานไฟฟ้าได้ประสิทธิภาพสูงสุดถึง 95%

โครงการเปิดให้มีการเข้าร่วมหุ่น ร่วมลงทุน ร่วมพัฒนา ร่วมทีมงาน
ติดต่อด่วนได้ทางไลน์ homeenergy : Call 0613612563

ติดต่อบริษัท เอเคอี อินโนเวชั่น จำกัด โทรสายด่วนคุณเอกสิริ กรรมการผู้จัดการ โทร และโทรไลน์ - line ID- homeenergy
www.theenergy.biz
ออฟฟิศ เอเคอี อินโนเวชั่น เซนเตอร์ สาขาทำการของบริษัท เอเคอี อินโนเวชั่น จำกัด
เลขที่ 22 ถนนลาดพร้าว 65 แขวงสะพานสอง เขตวังทองหลาง กทม 10310 Mail: 007innovation@gmail.com



คว

สงวนลิขสิทธิ์ การออกแบบหน้าเว็บเพจเว็บไซต์สไตล์หน้าแรก index โดยAKE เอกสิริกุล ผู้ออกแบบ และเจ้าของลิขสิทธิ์ ห้ามคัดลอกเรียนแบบ ห้ามดัดแปลงใดๆในรูปแบบของหน้า Index